ข้อเสนอการคลังสุขภาพเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และเป้าหมาย

bookmaterial

Authors

: คณะกรรมการจัดทําแนวทางการระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Journal

: none

Publication Date

: 2016

คํานํา
ประเทศไทย มีระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมคนไทยทุกคน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 หลังจากดําเนินการมา 13 ปี มีผลดังนี้ประเทศไทยลงทุนด้านสุขภาพร้อยละ 4.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ซึ่งแม้นับว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศ ที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน แต่ก็คิดเป็นเม็ดเงินกว่าห้าแสนล้านบาท ในการนี้ร้อยละ 80 เป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17 ของค่าใช้จ่ายภาครัฐทั้งหมด นับว่ารัฐลงทุนด้านสุขภาพสูงมาก ทําให้ภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพของครัวเรือนมีเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น คนที่ยากจนลงหรือล้มละลายจากการที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลก็ลดลงไปมากจนเกือบเป็นศูนย์ คนไทยที่มีความจําเป็นต้องได้รับบริการสุขภาพแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ที่เรียกว่า “ความจําเป็นที่ไม่ได้รับการตอบสนอง หรือ unmet health need” มีน้อยมาก น้อยเท่าเทียมกับประเทศ OECD ซึ่งเป็นประเทศที่รายได้สูง ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ดี และเป็นตัวอย่างไปทั่วโลก ถึงขนาดที่นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเชิญไปนําเสนอเรื่องนี้ที่ สมัชชาสหประชาชาติ ร่วมกับ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อกันยายนพ.ศ. 2558 แต่ก็มักจะมีคําถามสําคัญคือ รัฐจะรับภาระการลงทุนด้านสุขภาพที่สูง นี้ไปได้อีกนานเท่าไร จะมีทางเลือกอย่างไร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเงินของระบบสุขภาพ คนไทยควรรับภาระด้านสุขภาพมากขึ้นไหม รายงานฉบับนี้ มุ่งที่จะตอบคําถามดังกล่าว โดยอาศัยทั้งหลักฐานเชิงประจักษ์ และประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดคณะกรรมการมุ่งหวังว่าเป้า ประสงค์ของระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งสี่ ทีเรียกย่อว่า S-A-F-E จะเป็น เป้าประสงค์ระยะยาวของประเทศ ที่อยู่ในใจของคนไทยทุกคน และทุกภาคส่วนจะได้ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ ดําเนินการให้บรรลุได้ เพื่อ “สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ํา” ในสังคม และเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สืบต่อไป


คณะกรรมการจัดทําแนวทางการระดมทรัพยากร
เพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
18 มกราคม พ.ศ. 2559