รายงานการประชุมระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย พ.ศ. 2566 "ทบทวนอดีต และ แถลงการณ์สู่อนาคต"
หลักการและเหตุผล
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage หรือ UHC) เป็นนโยบายสําคัญระดับ
โลกที่ทําให้มีการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียม พร้อมการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ เพื่อให้ถึง
เป้าหมาย Sustainable Development Goal (SDG) 3.8 ที่เน้นเรื่องการลดความเสี่ยง การเข้าถึงบริการ
ด้านสุขภาพ และยาที่ปลอดภัย ตัวชี้วัดสําคัญ เช่น SDG 3.8.1 (ความครอบคลุมของบริการสุขภาพ) และ
SDG 3.8.2 (การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากรต่อรายได้) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในการคุ้มครองการเงินและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพให้กับ
ประชาชนทุกคน โดยในปี พ.ศ. 2560 สหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 12 ธันวาคม เป็น "วันหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้าสากล" (International UHC Day) เพื่อเพิ่มความตระหนักในระดับโลก และในปี พ.ศ. 2566
สหประชาชาติยังคงยืนยันความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประเทศสมาชิก
อย่างถ้วนหน้า โดยการจัดประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง หลักประกันสุขภาพถ้วน
หน้า และมีผลลัพธ์ที่สําคัญ คือ ปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วยเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ประเทศไทยให้ความสําคัญกับการดําเนินงานตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสามารถบรรลุ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆในกลุ่มประเทศ
กําลังพัฒนาที่สามารถบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ โดยเฉพาะด้านความครอบคลุมประชากร
จึงเป็นที่ชื่นชมและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ รวมทั้งถูกจัดให้เป็นประเทศกรณีศึกษาขององค์กร
ระหว่างประเทศในการพัฒนาระบบสุขภาพให้กับประชาชนแก่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งตลอด 21 ปีที่ผ่านมาของ
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงผลการดําเนินงานที่ทั้งป้องกันความเสี่ยง
ทางการเงินของประชาชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และยังเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศในการ
พัฒนาระบบสุขภาพ โดยสะท้อนจากศักยภาพในการรับมือการระบาดโควิด 19 ของประเทศไทย ที่อยู่ใน
ระดับต้น ๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทายในการจัดการระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นความ
แตกต่างของการกําหนดชุดสิทธิประโยชน์กลาง การจัดหาและการใช้เงิน การจัดบริการและการเข้าถึง
บริการของประชาชน ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ระบบกํากับคุณภาพบริการและการคุ้มครองสิทธิ
และวิธีการบริหารจัดการต่าง ๆ ของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสามระบบ รวมถึงความท้าทายของระบบ
การเงินการคลังด้านสุขภาพที่จําเป็นต้องมีทั้งความยั่งยืน (Sustainability) ความเพียงพอ (Adequacy)
ความเป็นธรรม (Fairness) และความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายจากสภาพ
สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดต่ํา โครงสร้างประชากรที่จะมีการ
เปลี่ยนไปอย่างมากในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมีนวัตกรรมใหม่ เป็นต้น
รวมไปถึงความท้าทายของระบบสุขภาพปฐมภูมิ จากการกระจายอํานาจด้านสาธารณสุข โดยการถ่ายโอน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลที่เดิมอยู่ในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข ให้แก่องค์การบริหารส่วน
จังหวัด ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จึงยังคงมีการหารืออย่างรอบด้าน
ต่อไป
ในปีพ.ศ. 2566 กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ สํานักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าง
ประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการระดับชาติหลักประกัน
สุขภาพถ้วนหน้า ระหว่างวันที่ 12 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ
ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างและจัดการความรู้ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย และเพื่อ
เชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย อันจะส่งผลต่อการพัฒนา
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมร่วม
สนับสนุนการเฉลิมฉลองวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากลของประเทศไทยอีกด้วย
รายงานฉบับนี้เป็นการสรุปสาระสําคัญจากการประชุมระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 “ทบทวนอดีตและแถลงการณ์สู่อนาคต” (National UHC Conference 2023:
Review the past and declare the future) ระหว่างวันที่ 12 –13 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้อง Infinity
โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ (รางน้ํา)